ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ที่คุณต้องรู้

ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ที่คุณต้องรู้

ดีไซน์หน้าเว็บ สำคัญยังไง ทำไมเราต้องให้ความสนใจด้วย? ถ้าคุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้ เช่น ทำไมเว็บไซต์ไม่มีคนเข้า? ทำไมเว็บไซต์ไม่ติด SEO อันดับดีๆ สักที ทั้งๆ ที่ทำมาตั้งนานแล้ว? คุณต้องให้ความสนใจกับ ดีไซน์หน้าเว็บ แล้วล่ะ

SEO คือสิ่งสำคัญของคนทำเว็บไซต์ ถ้าหากอันดับ SEO ของเว็บไซต์คุณร่วงลงไปอยู่อันดับท้ายๆ ก็เท่ากับว่าโอกาสที่ผู้ใช้จะเห็นนั้นเกือบเป็น 0 เลยทีเดียว

    เว็บไซต์ที่ดีควรติดอันดับการเสิร์ชจากคีย์เวิร์ดนั้นๆ ในหน้าแรก หรือหน้าที่สองเท่านั้น (แต่หน้าแรกดีที่สุด) ซึ่งการทำให้เว็บไซต์ติด SEO อันดับต้นๆ นั้นมีหลากหลายองค์ประกอบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคอนเทนต์, ดีไซน์ หรือจำนวนผู้เข้าชม ฯลฯ

    แล้วทำไมเว็บไซต์ที่ทำมาตั้งนานยังไม่มีอันดับที่ดีขึ้นสักทีล่ะ? ลองมาดูบทความนี้กันก่อนว่าเว็บไซต์ของคุณถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ส่งผลเสียต่อ SEO อย่างนี้หรือไม่…ถ้ามี รีบกลับไปแก้ด่วน!


หน้าเว็บมีแต่รูป ไม่มี Text!

    เราเข้าใจว่ารูปภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้ชมไว้ได้ด้วยความน่าสนใจในตัวมันเอง แต่คุณจะใส่รูปภาพที่มีข้อความไว้เยอะๆ บนหน้าเว็บโดยที่ไม่มี Text เลยไม่ได้! เพราะอะไร? เพราะอัลกอริธึมของ Google ไม่สามารถอ่านข้อความบนรูปภาพได้ ดังนั้นการจะใช้รูปภาพควรใช้เป็นการประกอบเนื้อหาเท่านั้น ขณะที่รายละเอียดต่างๆ ควรใส่เป็น Text

    แต่ถ้าต้องการ ดีไซน์หน้าเว็บ โดยเน้นรูปภาพจริงๆ ควรใช้ ALT Tag ซึ่งเป็นการใส่คำอธิบายรูปภาพ และสามารถใส่คีย์เวิร์ดลงไปได้ด้วย เพราะ Google จะอ่าน ALT Tag เป็น Text นั่นเอง

ใช้ Pop-Ups แบบน่ารำคาญ!

    นอกจาก Google จะดูเนื้อหาคอนเทนต์ในหน้าเว็บไซต์เพื่อวิเคราะห์ผล SEO แล้ว Google ยังดูถึง “ประสบการณ์” การใช้งานของผู้ที่เข้ามาชมด้วยว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้ามานั้นใช้เวลานานขนาดไหน หรือเข้าแล้วออกเลย ถ้าเกิดคนเข้ามาแล้วออกไปเลยมีจำนวนมากก็จะทำให้อันดับ SEO เราร่วงลงทันที

    สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การที่เจ้าของเว็บตั้งหน้าต่าง Pop-Ups ไว้บ่อย หรือเยอะมากจนดูน่ารำคาญ แม้จะมองว่าเนื้อหาใน Pop-Ups นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชมก็ตาม คนทำเว็บต้องอย่าลืมว่าคนที่เข้ามาหาเรา เขาต้องการคำตอบ หรือต้องการอ่านเรื่องที่น่าสนใจทันที แต่ถ้าเข้ามาแล้วเจอ Pop-Ups เด้งรัวๆ….กดออกดีกว่า มันน่ารำคาญเกินไป ดังนั้น ถ้าจะใช้วิธีการแจ้งเตือนแบบ Pop-Ups ต้องออกแบบให้ดี สวยงาม และน่าสนใจมากพอที่จะทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกว่าน่ารำคาญที่มันเด้งขึ้นมา

ระบบ Navigation ดูงงไปหมด!

    ระบบ Navigation ภายในเว็บไซต์ก็คือ การจัดหมวดหมู่ หรือการนำทางภายในเว็บไซต์ ว่าผู้ที่เข้ามาแล้วจะหาสิ่งที่ต้องการได้ที่ไหน เช่น การจัดหมวดหมู่บน top menu ให้มองเห็นเด่นชัด หรือช่อง search box เป็นต้น ซึ่งการจัดการสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ชมสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการได้ง่าย และไม่งง

รูปมีขนาดใหญ่เกินไป!

    รูปที่มีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ ก็จะยิ่งมีความละเอียด และความคมชัดมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เจ้าของเว็บบางคนที่อยากให้หน้าเว็บมีรูปสวยๆ ชัดๆ ใส่รูปที่มีขนาด 20-30 MB เข้าไปหลายๆ รูป เพราะกลัวรูปแตก แล้วหน้าเว็บจะไม่สวย…

    ผลเป็นยังไง? ผลก็คือ หน้าเว็บจะโหลดช้ามากๆ และส่งผลกระทบกับอันดับ SEO โดยตรงในเรื่องของ Page Performance เพราะมีความไม่สะดวกในการเข้าชม และผู้ชมส่วนใหญ่มักจะรอโหลดรูปในระยะเวลาเพียงแค่ 2 วินาที เท่านั้น! ถ้าเกินจากนี้ โดนกดปิดแล้วเข้าเว็บอื่นแน่นอน

ใช้อะไรที่ล้าสมัย!

    ย้อนไปก่อนหน้านี้สัก 10-15 ปี เว็บไซต์ส่วนใหญ่ใช้ Flash เป็นส่วนประกอบในการสร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งดูแล้วสวยงามน่าชม แต่ถ้าใครยังใช้ Flash กับเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ คงถูกมองว่าเป็นเว็บล้าสมัย ตามไม่ทันเทคโนโลยี และถูกปิดไปอย่างแน่นอน รวมไปถึงการดีไซน์หน้าเว็บที่ล้าสมัยด้วยเช่นกัน

เปิดในมือถือลำบาก!

    ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ Google นำมาเป็นเกณฑ์สำหรับจัดอันดับ SEO ด้วยก็คือ “เว็บไซต์นั้นรับชมบนมือถือ (Responsive Website) ได้สะดวกหรือไม่” ถ้าหากผู้ชมกดเข้ามาแล้วกดออกไปทันที Google จะไม่ให้คะแนนในส่วนนี้เลย เพราะอัตรา Bounce Rate ค่อนข้างสูง แสดงว่าเว็บไซต์ไม่เป็นมิตรต่อผู้เข้าชม ดังนั้น หากเว็บไหนยังไม่ปรับเป็น Responsive รับรองว่าอันดับร่วงแน่นอน

        สำหรับคนที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว คุณคิดว่าเว็บไซต์ที่คุณมีในตอนนี้ ทำหน้าที่ของมันได้เต็มที่แล้วหรือยัง? มีคนเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณบ้างหรือไม่? หลายธุรกิจเลือกโปรโมทเว็บไซต์ของตัวเองด้วยการลงโฆษณาบน Facebook เป็นการสร้างตัวตนทำให้คนรู้จักธุรกิจมากขึ้นบน Social media แล้วสร้าง Traffic เข้ามาชมเว็บไซต์ หรืออีกวิธีคือการทำโฆษณา Google Ads ทำให้เว็บไซต์แสดงอยู่ในหน้าแรกของ Google เมื่อลูกค้าเสิร์ชหาก็สามารถเจอเว็บไซต์ได้ทันที

    เทคนิคการตลาดที่ผมได้กล่าวไปนั้น เป็นวิธีที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำทั้งสิ้น จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถทำการตลาดออนไลน์ได้แบบฟรีๆ ถ้าทำสำเร็จยังทำให้เราได้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องและยาวนานด้วย เทคนิคที่ผมจะพูดในที่นี้คือ การทำ SEO ครับ

SEO คือ อะไร?

    Search Engine Optimize หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ และรองรับการติดอันดับบน Google ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ และเนื้อหาบนเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับบน Google จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคนเข้ามาชมมากขึ้น เป็นร้านค้าอันดับต้นๆ ที่ลูกค้าเลือกซื้อ และทำให้ยอดขายของธุรกิจคุณเพิ่มขึ้น

คนส่วนใหญ่เลือกคลิกเว็บไซต์อันดับที่เท่าไหร่?

    จากการสำรวจของเว็บไซต์ Highervisibility พบว่า ผู้เสิร์ชจะเลือกคลิกเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกมากถึง 95% เลือกคลิกเว็บที่อยู่อันดับหนึ่งถึง 32% อันดับสอง 16% และอันดับสาม 10% ไล่ลงมาตามลำดับ เว็บไซต์ที่อยู่หน้า 2 มีคนคลิกเฉลี่ยอยู่ที่ 1% หากคุณคิดจะทำ SEO เป้าหมายต้องเป็นหน้าแรกของ Google นั้น! ใครไม่ทำถือว่าพลาด!

แต่ก่อนที่เราจะเริ่มต้นทำ SEO เราต้องรู้ก่อนว่า Keyword ไหนที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของเรามากที่สุด

70-80% ของคนที่เสิร์ชจะเลือกคลิกเว็บไซต์ที่ติดอันดับ มากกว่าเว็บไซต์ที่เป็นโฆษณา

Keyword แบบไหนที่เหมาะกับเว็บไซต์ของเรา

    สิ่งสำคัญที่สุดก่อนเริ่มต้นทำ SEO คือ การเลือก Keyword ที่ใช่ให้กับเว็บไซต์ของเรา หากเราเริ่มต้นทำ SEO ด้วย Keyword ที่ผิด ไม่ตอบโจทย์การค้นหาของคนเสิร์ช ก็ยากที่เว็บไซต์ของคุณจะมีคนเข้ามาชม และติดอันดับบน Google

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่า Keyword แบบไหนที่เหมาะกับเว็บไซต์ของเรา ไปดูกัน!

1. Keyword ต้องเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ หรือธุรกิจ

    คุณอาจใช้เป็นประเภทของสินค้า ปัญหาของลูกค้า หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามาใช้เป็น Keyword ตัวอย่างเช่น

    สินค้า “เสื้อกันหนาว” นอกจากจะใช้คำกว้างๆ คุณสามารถใช้คำร่วมเพื่อให้ Keyword มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น เสื้อกันหนาวไหมพรม, เสื้อกันหนาวเกาหลี หรือเสื้อกันหนาวพร้อมส่ง

    การใช้ Keyword ที่มีความเฉพาะเจาะจง จะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะเปลี่ยนผู้ชมเว็บไซต์ ให้กลายเป็นลูกค้าได้

2. Keyword ที่ดี ต้องมีคนใช้ค้นหา

    Keyword ที่ดี บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของคำ หรือประโยคที่สะกดถูกต้อง แต่มันคือคำที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้ค้นหากันมากกว่า

    สมมติว่าผมต้องการทำ SEO สำหรับธุรกิจ คอร์สเรียนกราฟิก

    ผมจะเลือกใช้ Keyword คำว่า “เรียนกราฟฟิก” เหตุผลที่ไม่ใช้คำว่า กราฟิก(คำที่สะกดถูก) เพราะว่าคนที่ใช้คำว่า เรียนกราฟฟิก ในการค้นหามีมากกว่าคำว่า กราฟิก นั่นเองครับ

3. มีปริมาณการค้นหา

    ต่อจากข้อ 2 นอกจาก Keyword จะมีคนใช้ค้นหาแล้ว ต้องมีปริมาณการค้นหาในระดับหนึ่งด้วย ซึ่งมีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และความเฉพาะเจาะจงของสินค้า เว็บไซต์ธุรกิจแต่ละประเภทมีจำนวนการค้นหาไม่เท่ากัน

กลับมาที่คอร์สสอนกราฟิกกันอีกครั้ง ผมรู้ได้ยังไงว่า Keyword “เรียนกราฟฟิก” มีคนเสิร์ชมากกว่า “เรียนกราฟิก”

ผมมีวิธีการเช็คปริมาณการค้นหาอยู่ 3 วิธีครับ

  1. เช็คด้วยเครื่องมือ Keyword Planner จาก Google Ads
  2. เช็คด้วยเครื่องมือ SEO ที่ผมซื้อเอาไว้ ชื่อว่า Mangools
  3. เช็คด้วยเครื่องมือฟรีจาก Google ที่ใช้แสนง่าย อย่าง Google Trend

4. เป็น Keyword ประเภท High Commercial Intent

Keyword High Commercial Intent ถือว่าเป็น Keyword ที่ช่วยทำเงินให้กับธุรกิจของเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นคำที่คนเสิร์ช ใส่ความต้องการของตัวเองลงในคำค้นหาด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • บ้านพัก ชะอำ ติดทะเล ไม่เกิน 2000
  • พรีออเดอร์ ลิปสติก A สี BR420
  • พรีออเดอร์ เกม PPP แผ่นญี่ปุ่น
  • จองที่นั่ง ร้าน GGG ราคา

เมื่อเราได้ Keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของเราแล้ว ทีนี้เรามาดูกันเลยว่า ควรปรับแต่งเว็บไซต์อย่างไรให้ได้คะแนน SEO ดีๆ จาก Google!

วิธีการทำ SEO

    การทำ SEO คือ การทำให้เว็บไซต์ขึ้นไปติดอันดับบน Google ด้วยการปรับแต่งเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้าง เนื้อหาบนเว็บไซต์ โค้ดหลังบ้าน รวมถึงปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่มีผลกับเว้บไซต์ และอยู่ในเกณต์การให้คะแนนจาก Google

จากภาพกราฟฟิกด้านบน (ที่ดูๆ ไปแล้วเหมือนตารางธาตุสมัยเรียนมัธยม) คุณจะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์เยอะแยะมากมายพร้อมกับตัวเลขบวกลบ นั่นคือตัวอย่างการนับคะแนน SEO ของ Google นั้นเองครับ

ซึ่งมันจะทำให้เรารู้ได้ว่า เราควรปรับแต่งเว็บไซต์อย่างไรจึงได้จะคะแนนดีๆ เพื่อไต่อันดับบน Google

การทำ SEO นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

SEO On-Page

    หรือการปรับแต่งบนเว็บไซต์ เป็นวิธีที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง โดยการทำ SEO On-Page จะแบ่งวิธีการทำ และการคิดคะแนนออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1.1 Content หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์

• Quality คุณภาพของเนื้อหา +3 คะแนน

    เนื้อหาบนเว็บไซต์อ่านง่าย มีความยาว หรือจำนวนคำมากพอสมควร ไม่เน้นแต่ Keyword

    หากเป็นรูปแบบของบทความ ถ้ามี Link อ้างอิงจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเหมือนกันก็จะช่วยให้คะแนนของเว็บไซต์คุณ ดีขึ้นตามไปด้วย

• Research เนื้อหาเว็บไซต์มี Keyword ที่ตรงกับคำค้นหา +3 คะแนน

    Keyword ที่ดี ต้องมีคนใช้ค้นหา หาก Keyword ที่คุณเลือกมาไม่มีคนเสิร์ช การทำ SEO ของคุณก็ไร้ความหมาย

• Words เนื้อหาเว็บไซต์มีประโยคที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา +2 คะแนน

    ไม่ใช่เพียงแค่ Keyword แต่ประโยค และเนื้อหาภายในเว็บไซต์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหาด้วย

• Fresh เนื้อหาบนเว็บไซต์มีความสดใหม่ +2 คะแนน

    เนื้อหาที่ดีควรสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง อาจศึกษาจากหลายๆ เว็บไซต์ แล้วเรียบเรียงประโยคขึ้นมาใหม่ ตามแบบฉบับของเรา ไม่ควรก็อป เพราะ Google รู้!

• Vertical มีภาพประกอบ หรือวิดีโอในเว็บไซต์ +2 คะแนน

    นอกจากการใช้ภาพประกอบ และวิดีโอจะได้คะแนนจาก Google แล้ว เรายังสามารถใส่คำอธิบาย พร้อมแทรก Keyword ลงในรูปภาพได้อีกด้วย เป็นเทคนิคในการทำ SEO

• Answers เนื้อหาของคุณมีคำตอบที่คนเสิร์ชต้องการ +2 คะแนน

    หากบทความในเว็บไซต์ของคุณ มีคำตอบที่คนเสิร์ชต้องการ มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าเชื่อถือ คำอธิบายชัดเจน มีการใช้เทคนิค SEO ที่หลากหลายในบทความนั้น ยกตัวอย่างเช่น

     • จำนวนคำในบทความมีไม่ต่ำกว่า 500 คำ
     • มีการตั้งค่า Rich Snippet
     • มีการตั้งค่า Title & Description
     • มีการตั้งค่า Headline
     • มีการตั้งค่า Alt tags ที่รูปภาพ
     • มีการทำ Internal Link

ก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณ ได้คะแนนนี้ไป

ข้อดี!

 การสร้างบทความแบบนี้มีโอกาสที่ Google จะนำไปแสดงอยู่ใน Position Zero ตำแหน่งที่สูงกว่าอันดับ 1 ด้วย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้คนเห็นเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้น

• Thin เนื้อหาในเว็บไซต์น้อยเกินไป -2 คะแนน

    Google นั้นให้ความสำคัญกับคุณภาพเนื้อหาบนเว็บไซต์มากที่สุด จนมีคำกล่าวว่า Content is king หากเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคนมีน้อย หรือบางมากๆ คุณก็อาจโดนหักคะแนนในส่วนนี้ไป

“การทำ SEO ไม่ได้มีแค่วิธีเพิ่มคะแนนเท่านั้น หากคุณทำผิดวิธี เว็บไซต์ของคุณก็อาจถูกตัดคะแนนได้เหมือนกัน”

1.2  Architecture หรือโครงสร้างเว็บไซต์

• Crawl โครงสร้างเว็บไซต์ออกแบบให้ง่ายต่อการค้นหา +3 คะแนน

    การจัดหมวดหมู่ เมนู บนเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ภายในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น 

• Mobile ใช้งานได้ดีบนโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน +3 คะแนน

    Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของผู้ชมเว็บไซต์ ไม่ว่าคนจะเปิดดูเว็บไซต์ของคุณจากอุปกรณ์ไหน ต้องสะดวก และง่ายต่อการเข้าชม หากเว็บไซต์ที่คุณใช้เป็น Responsive ก็รับคะแนนข้อนี้ไปได้เลย

• Duplicate ในเว็บไซต์ไม่มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน +2 คะแนน

    การทำเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ดี ในแต่ละหน้าเพจไม่ควรมีเนื้อหาที่เหมือนกัน แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวกันจริงๆ เราสามารถใช้วิธีการปรับแต่งคำให้ดูแตกต่างกัน ก็สามารถช่วยได้

• Speed ความเร็วในการโหลดเข้าเว็บไซต์ +2 คะแนน

    ส่วนตัวแล้วผมให้ความสำคัญกับข้อนี้ค่อนข้างมาก เพราะมันเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนตัดสินใจว่าจะอยู่ในเว็บไซต์ต่อ หรือออกจากเว็บไป

    เว็บไซต์ที่โหลดรวดเร็ว จะทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีความเร็วในการดาวน์โหลดช้ามากๆ รอนานกว่ารูปภาพจะขึ้น สร้างความหงุดหงิดเวลาเข้าชม เป็นผมก็กดออกทันทีเหมือนกัน

• URLs มี Keyword ที่ตรงกับหัวข้อ และเนื้อหาเว็บไซต์ +1 คะแนน

    หากเราตั้ง URL ให้มี Keyword สำหรับทำ SEO เข้าไปด้วย ก็จะช่วยให้การทำ SEO ของเราง่ายขึ้น

    แต่การตั้ง URL ที่ใส่ Keyword เป็นภาษาไทย จะทำให้ลิงก์ URL ของเรานั้นยาวมากๆ การ Copy เพื่อส่งให้คนอื่น บางครั้งอาจโดนตัด URL ช่วงท้ายๆ ออกไป การแปะลิงก์ หรือการโพสต์บนสื่ออื่นๆ ก็อาจทำให้ดูไม่สวยงาม

    ในส่วนนี้ผมอยากให้พิจารณาตามความเหมาะส้มว่าเน้นการทำ SEO หรือเน้นความสวยงามมากกว่ากัน

• เว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือ ระบบรักษาความปลอดภัย SSL +1 คะแนน

    อีกสิ่งหนึ่งที่ Google ให้ความสำคัญคือ ความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และเจ้าของเว็บไซต์ HTTPS หรือ ระบบ SSL คือ ระบบป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากคนที่ไม่หวังดีกับเว็บ หรือ Hacker หากเว็บไซต์ของคุณเป็น E-Commerce มีการชำระเงินบนเว็บไซต์ SSL คือสิ่งที่คุณขาดไม่ได้เลย

• Cloaking การซ่อน Keyword ในเว็บไซต์ -3 คะแนน

    มีหลายครั้งที่คนทำเว็บไซต์พยายามจะใส่ Keyword เข้าไปเยอะๆ เพื่อหวังว่าจะให้เว็บไซต์ติดอันดับ Google เร็วขึ้น

การซ่อน Keyword หมายถึงการพิมพ์ Keyword เข้าไปในเว็บไซต์จำนวนมากๆ แต่! ซ่อนเอาไว้ด้วยการใช้สีตัวหนังสือที่กลืนไปกับพื้นหลัง ทำให้บางครั้งเราไม่เห็นว่า เว็บนั้นได้ซ่อน Keyword เอาไว้

แบบนี้! (ลองเอาเม้าลากดูนะครับ)

เรียนกราฟฟิก, สอนกราฟฟิก, รับสอนกราฟฟิก, คอร์สเรียนกราฟฟิก, เรียนกราฟฟิก ราคา, โรงเรียนสอนกราฟฟิก

(ห้ามทำ!) <

1.3 HTML หรือการเขียนโค้ดหลังบ้าน

• ใส่ Title Tag +3 คะแนน

    เป็นการตั้งหัวข้อสำหรับหน้าเพจ ทำให้ Google รู้ว่า หัวข้อของหน้าเพจนี้คืออะไร มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร

การเขียน Title ควรใส่ Keyword ประกอบไปด้วย แต่ไม่ควรใส่มากจนเกินไป เขียนให้ดูน่าสนใจดึงดูดคนให้คลิก เพราะ Title จะถูกนำไปแสดงอยู่บนหน้า Google Search

• ใส่ Meta Description +2 คะแนน

    มีไว้สำหรับใส่คำอธิบายรายละเอียดในหน้าเพจนั้นๆ เพื่อให้คนเสิร์ชรู้ว่า เว็บไซต์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยข้อความที่แสดงอยู่ใน Description จะไม่แสดงในเว็บไซต์ แต่จะแสดงในหน้าเสิร์ชเช่นเดียวกับ Titile

Description ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราสามารถใส่ Keyword ลงไปได้ การใช้ควรใส่ที่ช่วงต้น หรือกลาง Description และไม่ควรใส่มากจนเกินไป เมื่อมีคนใช้ Keyword ที่ตรงกับเรา keyword ใน Description ก็จะขึ้นเป็นสีแดง

• Site Structure หรือ Site map +2 คะแนน

    คือแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่บอกกับ Google ว่า หน้าไหนคือหน้าที่มีความสำคัญ อยู่ส่วนไหนในเว็บไซต์

• Header การกำหนดหัวข้อ +1 คะแนน

    ปกติแล้วเมื่อเราเขียนบทความ เราก็มักจะตั้งหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอื่นๆ ตามความสำคัญ สำหรับการทำ SEO หากเราใส่ Tag เพื่อบอกกับ Google ไว้ด้วยว่า อันไหนคือหัวข้อหลัก รอง หรือย่อย ก็จะช่วยให้คะแนนอันดับเว็บไซต์ดีขึ้นด้วย

Tag จะถูกแบ่งตามความสำคัญมีตั้งแต่ h1 = หัวข้อหลัก, h2 = หัวข้อรอง, h3 = หัวข้อย่อย ไปจนถึง h6 แล้วแต่เราจะแบ่ง แต่สำคัญที่สุด h1 ควรมีเพียง หัวข้อเดียวเท่านั้น

การตั้งชื่อหัวข้อแต่ละส่วน หากใส่ Keyword เข้าไปด้วย ก็จะช่วยให้คะแนนการทำ SEO ของคุณดีขึ้น

• Stuffing หรือการใส่ Keyword แบบไม่มีเหตุผล -2 คะแนน

    Stuffing คือการนำ Keyword ไปแปะในทุกๆ หน้าบนเว็บไซต์แบบไม่มีความหมายอะไร ไม่มีเนื้อหา ไม่มีประโยค มีแต่ลิส Keyword ล้วนๆ แบบนี้

เรียนกราฟฟิก, สอนกราฟฟิก, รับสอนกราฟฟิก, คอร์สเรียนกราฟฟิก, เรียนกราฟฟิก ราคา, โรงเรียนสอนกราฟฟิก, โรงเรียนสอนกราฟฟิกพญาไท, เรียนกราฟฟิกที่บ้าน, รับสอนกราฟฟิกที่บ้าน, เรียน Graphic Design, รับสอน Graphic Design

(ห้ามทำ!)

SEO Off-Page

    หรือการทำ SEO ภายนอกเว็บไซต์ หรือเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ลิงก์ที่มาจากภายนอกเว็บไซต์ คนที่เข้ามาใช้งาน และ Social media Google แบ่งเกณต์การให้คะแนนตามด้านล่างนี้เลย

2.1 ความน่าเชื่อถือ (Trust)

• Authority ความน่าเชื่อถือของเว็บไซค์ +3 คะแนน

    หากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาบทความที่น่าเชื่อถือ ได้ Backlink หรือมีการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเหมือนกัน ก็จะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณ ได้คะแนน SEO ที่ดี

• Engagement มีคนเข้ามามีส่วนรวมกับเว็บไซต์ +2 คะแนน

    การเขียนบทความเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ มีประโยชน์ น่าสนใจ อาจทำให้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ มีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ อย่างเช่นแชร์ไปยัง Social media หรือคอมเม้นท์ที่ใต้บทความ ทำให้ Google เห็นว่าเว็บไซต์ของเรามีความน่าสนใจ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเรามีอันดับที่ดีขึ้น

• History อายุกันใช้งานของเว็บไซต์ +1 คะแนน

    ยิ่งแก่ ยิ่งเก๋า หากชื่อ Domain ที่คุณใช้งานอยู่ในตอนนี้ มีอายุการใช้งานที่มากพอ จะทำให้คุณสามารถทำ SEO ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ Domain ที่พึ่งจดมาใหม่ๆ

• Piracy เนื้อหาเว็บไซต์คัดลอกมาจากที่อื่น -1 คะแนน

    อยากที่ได้เคยกล่าวไปว่า Google นั้นให้ความสำคัญกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่สุด แต่ถ้าเว็บไซต์คุณ คัดลอกเนื้อหามาจากเว็บไซต์อื่นๆ ก็เตรียมรับการลงโทษจาก Google ได้เลย

• Ads กระหน่ำ Banner, Pop-up โฆษณา -1 คะแนน

    หากเว็บไซต์ของคุณ เต็มไปด้วย Banner และ Pop-up โฆษณา ทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์แย่ๆ Google ก็ขอแจก -1 คะแนนให้กับเว็บไซต์คุณ

 

2.2 Links

• Quality Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์ มีคุณภาพ +3 คะแนน

    เมื่อเว็บไซต์ของคุณถูกนำไปใช้อ้างอิงบนเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ ในหน้าที่อ้างอิงมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของคุณ Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีคุณภาพจริง

• Text ลิงก์ในข้อความ หรือ Keyword +2 คะแนน

    หากเว็บไซต์ที่ทำ Backlink ส่งมาที่เรา แทรกลิงก์เอาไว้ในประโยคหรือ Keyword ก็จะช่วยให้ Traffic ที่เราได้รับมีคะแนนสูงที่ขึ้น

• Numbers จำนวน Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์ +1 คะแนน

    ถ้าเว็บไซต์ของคุณ มี Backlink กลับมาที่เว็บไซต์จำนวนมาก ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณ ติดอันบน Google ได้ดี และรวดเร็ว

• Paid Backlink ที่มาจากการซื้อ -3 คะแนน

    หาก Google ตรวจพบเว็บ Backlink ที่คุณได้มาจากการซื้อเพื่อปั่นอันดับเว็บไซต์ อันดับเว็บของคุณก็มีโอกาสจะหล่นไปอยู่หน้าอื่นได้เหมือนกัน

• Spam สร้าง Backlink เพื่อปั่นอันดับ -3 คะแนน

    หากคุณพยายามสร้าง Backlink จาก Blog กระทู้ หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่มีคุณภาพ ใช้โปรแกรมในการสร้าง Backlink จำนวนมากเข้ามาที่เว็บไซต์ เมื่อ Google ตรวจพบ เว็บไซต์อาจโดนลงโทษ ทำให้อันดับหล่นลงไปอยู่ในหน้าอื่น หรือขั้นร้ายแรงที่สุดเว็บไซต์ของคุณอาจถูกแบนจาก Google ไม่สามารถเสิร์ชเจอบน Google อีกเลย

 

2.3 Personal

• Country การทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์คนเสิร์ชแต่ละประเทศ +3 คะแนน

    ต้องบอกก่อนว่า เว็บไซต์ของเราถึงแม้จะอยู่บน Internet สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก แต่พฤติกรรมการเสิร์ช หรือ คำค้นหาของคนแต่ละประเทศนั้นต่างกัน

หากเป้าหมายของเราคือคนภายในประเทศ เพียงทำเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ของคนไทย คุณได้ก็ได้คะแนนส่วนนี้ไปได้ง่ายๆ เลย

• Locality การทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์คนในพื้นที่ +3 คะแนน

    Google ไม่ได้อยากให้เราทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์คนในประเทศเท่านั้น แต่เขายังให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่อีกด้วย 

วิธีการเรียกคะแนนในข้อนี้ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือการสมัคร Google My Business เพื่อให้คนในพื้นที่ สามารถค้นหาธุรกิจของคุณได้ง่ายขึ้น

• History การทำให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ขอคุณเป็นประจำ +2 คะแนน

    หากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่น่าดึงดูด มีการอัพเดตบทความ และข่าวสารใหม่ๆ ที่ทำให้คนติดตาม ทำให้คนเข้ามาอ่านอยู่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถติดอันดับบน Google ได้ง่ายๆ

2.4 Social

• Reputation เนื้อหาถูกแชร์บน Social media +2 คะแนน

    เมื่อเนื้อ หรือบทความที่อยู่บนเว็บไซต์ของเรา ถูกแชร์ไปยัง Social media ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Linked in หรือช่องทางอื่นๆ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเรา มี Traffic ที่ดี

• Shares จำนวนการแชร์บน Social media +1 คะแนน

    ต่อจากข้อด้านบน เมื่อเนื้อหา หรือเว็บไซต์ของเราถูกแชร์เป็นจำนวนมาก ก็จะช่วยให้อันดับเว็บไซต์ของเราดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเองครับ

Website Services & Cloud Solutions

เราให้บริการด้านgเว็บไซต์และดิจิทัลที่ครบครัน ออกแบบเว็บไซต์ พัฒนาเว็บไซต์ ทำการประชาสัมพันธ์การตลาดออนไลน์ผ่าน SEO และโฆษณาออนไลน์ผ่าน Facebook หรือ Google และโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ รวมไปถึงการสร้างสรรค์โปรดักชั่นสื่อวีดีโอและภาพนิ่งเพื่อให้เป็นที่รู้จักด้วยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์มืออาชีพ